post

สภาพอากาศแต่ละฤดูกาลของ ประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ มีจำนวนประชากรเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีประชากรมากสุดในโลก อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน, เนปาล และภูฏาน ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ทำให้กลายเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคต่างๆ ในอินเดียจึงมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ดังนี้

  • ฤดูหนาว (ตุลาคม – มีนาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย15 องศา แต่บริเวณใกล้ชิดเขาหิมาลัยและเชิงเขาทางเหนือ อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาบางครั้งอาจถึงขั้นติดลบ บริเวณเขตที่ราบอากาศเย็นสบาย ประมาณ15-20 องศา ทางภาคใต้อากาศอบอุ่น ยกเว้นบริเวณเทือกเขาสูงก็จะมีอากาศหนาวเย็น
  • ฤดูร้อน (เมษายน – มิถุนายน) อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เต็มไปด้วยความร้อนระอุ มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศา ที่ราบทางตอนเหนือ เต็มไปด้วยฝุ่นดินทรายฟุ้งกระจาย อันตรายต่อทางเดินหายใจ อุณหภูมิในตอนกลางวันอาจสูงกว่า 40 องศา ส่วนทางภาคใต้อากาศร้อนอบอ้าว
  • ฤดูฝน (กรกฎาคม – กันยายน) มีอุณหภูมิประมาณ 28 องศา บางครั้งอาจต่ำกว่านี้

การแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศอินเดีย

อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่าเพราะความใหญ่โตของประเทศอินเดีย จึงทำให้เกิดการแบ่งเขตภูมิอากาศอันหลากหลาย นอกจากนี้เรื่องของสภาพพื้นที่รวมทั้งปัจจัยยิบย่อยต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญในการแบ่งแยกสภาพอากาศให้แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง โดยสภาพภูมิประเทศของอินเดียมีความหลากหลายสูง ไม่ว่าจะทั้ง ติดทะเล, ภูเขาสูง หรือทะเลทราย จึงทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งกลายเป็นเขตภูมิอากาศอันเต็มไปด้วยลมมรสุม ส่วนบริเวณไหนอยู่ห่างจากทะเลก็จะมีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง ขาดน้ำจนดินแตกระแหง

ปัจจัยในการแบ่งเขตภูมิประเทศของอินเดียแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ภูเขาหิมาลัย และ ทะเลทรายธาร์ จากทั้งสองสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้อินเดียมีฤดูร้อนอันมีความร้อนระอุมากบางครั้งถึง 40 องศา ส่วนฤดูหนาวก็มีมรสุมสูง นอกจากนี้เทือกเขาหิมาลัยก็ยังทำให้บางส่วนของประเทศมีหิมะได้ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สิ่งที่เป็นตัวแบ่งเขตภูมิอากาศก็คือ ทะเลทรายธาร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญ ในการนำพาความชื้นจากตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านไปยังพื้นที่ส่วนมาก โดยมรสุมตัวนี้ส่งผลให้เดือนมิถุนายน – ตุลาคม มีฝนตกหนักอย่างบ้าคลั่ง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้

การแบ่งเขตภูมิอากาศของอินเดีย

จากการรวมปัจจัยทั้งน้อยใหญ่ทั้งหมด จึงสรุปได้ว่าประเทศอินเดียแบ่งสภาพภูมิอากาศได้เป็น 4 เขต ได้แก่

  • เขตร้อนชื้น (Tropical wet)
  • เขตร้อนแห้งแล้ง (Tropical dry)
  • เทือกเขาสูง (Montane)
  • อบอุ่นชื้น (Subtropical humid)

นอกจากวัฒนธรรมอันหลากหลายแล้ว อินเดียก็ถือว่าเป็นประเทศมีความหลากหลายทางด้านเขตภูมิอากาศอยู่มากเลยทีเดียว สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางไปเยือน ก็ควรตรวจสอบสภาพอากาศให้ดีเสียก่อน

post

ให้ตายเหอะ อินเดียร้อนแบบรุนแรงพุ่งทะยานไปที่ 51 องศาฯ

ประชาชนในอินเดีย ณ เมืองพาโลดี ประสบกับสภาพอากาศร้อนถึงขีดสุด เท่าที่เคยมีการบันทึกข้อมูลมาในประเทศ โดยมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึงขีดสุด 51 องศา อันเป็นผลมาจากอิทธิพลคลื่นความร้อนซึ่งแผ่ตัวปกคลุมไปทั่วประเทศ วันที่ 20 พฤษภาคม 2016 เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย ออกมาเปิดเผยข้อมูลอันน่าตกใจว่า ณ เมืองพาโลดี รัฐราชสถาน ประชาชนรวมทั้งสัตว์น้อยใหญ่ กำลังเผชิญสภาพอากาศร้อนจัดเดือดสุด เท่าที่เคยมีมาอุณหภูมิทะลุเกิน 51 องศาเซลเซียส ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2016 ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา โดยเมื่อปี ค.ศ. 1956 อินเดียเคยมีสถิติอุณหภูมิสูงสุด 50.6 องศาเซลเซียสมาแล้ว

วันที่ 19 พฤษภาคม 2016 เป็นวันที่อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา คือ 51 องศาเซลเซียส อันเป็นตัวเลขน่าตกใจสำหรับเมืองมนุษย์ ณ เมืองพาโลดี กรมอุตุฯของประเทศอินเดียกล่าว

และในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย ก็ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า จากความรุนแรงของคลื่นความร้อนซึ่งแผ่ปกคลุมไปทั่วอินเดีย โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคตะวันตก ก่อให้เกิดสภาพอากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันยาวนานมาหลายสัปดาห์ ในขณะที่สภาพอากาศร้อนจัดในครั้งนี้ ส่งผลให้มีประชาชนชาวอินเดีย ในรัฐเตลังคานา และอานธรประเทศ เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าสลดแล้วหลายสิบคน นอกจากนี้พื้นดินก็แตกระแหงราวกับไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่แม้แต่หยดเดียว

ทั้งนี้อินเดีย เป็นประเทศขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศมีความเป็นมาอันยาวนาน อินเดียเป็นประเทศแม่ซึ่งให้กำเนิดหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งวัฒนธรรม, ศาสนา หรือแม้กระทั่งอาหารการกิน นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นประเทศอันมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย จากปัจจัยนี่เองจึงเป็นส่วนสำคัญอันทำให้สภาพภูมิอากาศของประเทศอินเดีย มีความหลากหลายเฉกเช่นภูมิประเทศนั่นเอง ด้วยตำแหน่งของประเทศซึ่งมีขนาดใหญ่โต จึงทำให้หลายส่วนของประเทศมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งตามธรรมชาติประเทศขนาดใหญ่ก็มักพบเจอกับเรื่องภูมิอากาศอันแปรปรวนและรุนแรงเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องน่ากลัวอันดับต้นๆ

ฤดูกาลของอินเดีย ในช่วงฤดูร้อนตามปกติของทุกๆ ปี ก็มีสภาพอากาศร้อนระอุเป็นอย่างมากอยู่แล้ว โดยฤดูร้อนของอินเดีย อยู่ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย คือ 35 องศา แต่สำหรับในบางเมืองหรือบางจุดของประเทศมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาซึ่งตัวเลขเท่านี้ก็ถือว่าร้อนมากอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นฤดูซึ่งไม่ค่อยมีผู้นิยมไปเยือนอีกด้วย

post

มลพิษทางอากาศที่น่ากลัวภัยเงียบในเมืองกรุงนิวเดลี

สภาพภูมิอากาศในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย เข้าสู่ภาวะอันตราย ทำให้ทางการออกมาประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่หมอกควันปกคลุมสูงเกินมาตรฐานเข้าขั้นอันตราย ถึงขนาดสั่งปิดโรงเรียนประถมชั่วคราว ทางด้านเว็บไซต์สถานทูตสหรัฐประจำกรุงนิวเดลี ออกมาเผยข้อมูลว่าวันที่ 7 พฤษจิกายน พ.ศ. 2560 ระดับค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก วัดได้ 703 โดยสูงเกินเป็นจำนวน 2 เท่าของค่ามาตรฐาน 300 ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับอันตราย ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศซึ่งจะยังคงเลวร้ายลงไปอีก ทางด้านสมาคมแพทย์อินเดีย ก็ได้ออกมาประกาศสภาวะฉุกเฉินซึ่งขอให้ทางการนิวเดลียับยั้งภัยคุกคามนี้อย่างเร่งด่วน

ทำให้สถานการณ์ล่าสุด นายมานิช ซิโซเดีย รองมุขมนตรี ได้สั่งให้ปิดโรงเรียนประถมทั้งหมดในกรุงนิวเดลี ซึ่งจะมีการดูเป็นรายชั่วโมง เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งปิดไปอีกนานเท่าไหร่

ทางด้านอากาศในกรุงนิวเดลี มักจะเสื่อมโทรมลงในช่วงก่อนเข้าฤดูหนาว เพราะอากาศเย็นจะพามลพิษไปไว้ใกล้พื้นดิน ผสมเข้ากับการจุดพลุดอกไม้ไฟ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลี รวมทั้งมลพิษจากเครื่องยนต์ดีเซล , โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงงานอุตสาหกรรม จึงทำให้ระดับมลพิษเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าสงสัย

อีกทั้งยังมีการเผาทำลายซากจากผลผลิตทางการเกษตร หลังจากการเก็บเกี่ยวทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย จึงทำให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรมลงด้วย ทางด้านโซเชียลก็มีการเคลื่อนไหวกับเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าว ประชาชนพิมพ์ #smog เพื่อกระตุ้นให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษ

ย้อนไปในปี พ.ศ. 2557 องค์การอนามัยโลกเคยกำหนดให้กรุงนิวเดลีเป็นเมืองหลวงมีมลพิษมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีสภาพอากาศเสื่อมโทรมยิ่งกว่ากรุงปักกิ่งเสียอีก ในกรุงนิวเดลี เช่น รัฐ Haryana และรัฐ Punjab พบปัญหามลพิษทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – มีนาคม เมื่อความเย็นกดละอองและควันพิษให้ลอยต่ำเหนือพื้นดิน อีกทั้งยังเป็นการบล็อกไม่ให้ควันพิษเหล่านั้นระเหยตัวในอากาศ บวกกับความกดอากาศด้วย จึงทำความหนาแน่นของมลพิษในเมืองมีความเข้มข้นขึ้นในช่วงหน้าหนาว

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ออกมาระบุว่า PM หรือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ถ้าหากได้รับเข้าสู่ร่างกายจำนวนมากจะเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าสารพิษตัวอื่นๆ เสียอื่น โดยเฉพาะฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 PM มันมีความเล็กมาก จึงสามารถแทรกตัวเข้าไปในปอดส่วนลึกได้อย่างง่ายดาย ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งโรคทางเดินหายใจ และมะเร็งปอด สามารถเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ปรากฏผื่นคันบริเวณผิวหนัง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก สามารถกระตุ้นผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ได้

post

กรมอุตุชี้แจ้งความน่ากลัวว่าพายุไซโคลน วาร์ดะห์ มุ่งหน้าเข้าสู่อินเดียไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2559

กรมอุตุฯออกมายืนยันว่า พายุไซโคลน “วาร์ดะห์” เคลื่อนไปทางอินเดีย ไม่ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน ทั้งนี้ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนอย่างเหนียวแน่น จึงทำให้บริเวณนั้นมีอากาศหนาวเย็นต่อไป ส่วนทางด้านมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยพบว่ามีกำลังปานกลาง อีกทั้งยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนตกได้ แต่ปริมาณก็จะน้อยลงกว่าช่วงที่ผ่านมา ทางด้านคลื่นลมอ่าวไทยและอันดามันมีกำลังปานกลาง ส่วนพายุไซโคลน “วาร์ดะห์” มีการเคลื่อนตัวไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ ซึ่งมุ่งตรงไปยังอินเดีย ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน

วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2559

ชาวอินเดียภาคใต้ กำลังถึงคราวเผชิญหน้ากับพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรง ‘วาร์ดะห์’ แบบเต็มๆ พร้อมขึ้นฝั่งรัฐทมิฬนาดู ทำให้ โรงเรียน , วิทยาลัย ตลอดจนร้านค้าต่างๆ ในเมืองริมทะเล ต้องหยุดทำการเพื่อหลบพายุกำลังแรงลูกนี้ นับเป็นไซโคลนลูกแรกในปี พ.ศ.2559 ที่ถล่มอ่าวเบงกอล นอกจากนี้ทางการอินเดียยังได้ออกประกาศเตือน ให้บริษัทต่างๆ ให้พนักงานทำงานจากบ้าน โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ทำงาน เพราะเสี่ยงต่ออันตรายถึงแก่ชีวิต อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่า จากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนลูกนี้ จะส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูกกล้วย , มะละกอ , นาข้าวด้วย

ด้านสำนักอุตุนิยมวิทยา ได้ออกแจ้งเตือนประชาชนทางภาคใต้ของอินเดีย เฝ้าระวังฝนตกหนักจากพายุ วาร์ดะห์ นับเป็นไซโคลนมีกำลังแรงที่สุด ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ในครั้งนั้นไซโคลน Hud Hud ได้ถล่มรัฐอานธรประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับ 100 ราย สร้างความเสียหายถึง 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

วันที่ 13 ธันวาคม ..2559

ไซโคลน วาร์ดะห์ ขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศอินเดียตามคาดการณ์ ทำให้เกิดห่าฝนและพายุกระชากลมแรง ทางการต้องเร่งอพยพประชาชนนับหมื่นคน พบผู้เสียชีวิตแล้ว 7 ราย ไซโคลน ‘วาร์ดะห์’ เคลื่อนตัวเข้าสู่เมืองเจนไน ทำให้เกิดฝนตกหนักและลมแรงถึง 140 กม./ชม. เป็นเหตุให้มีประชาชนชีวิตแล้ว 7 ราย จนต้องเร่งมืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่มากกว่า 15,000 คน จากความรุนแรงของพายุลูกนี้ ส่งผลให้โรงเรียนและธุรกิจต่างๆ ต้องปิดเพื่อหลบภัย สนามบินต้องหยุดให้บริการชั่วคราว พบต้นไม้ในเมืองเจนไนถูกกระแสลมแรงโค่นกว่า 260 ต้น นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนของเมืองโดยน้ำท่วมเสียหาย ถึงกระนั้น นาย วายเค เรดดี ผู้อำนวยการสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ออกแถลงการณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า พายุจะอ่อนกำลังลงหลังจากขึ้นฝั่ง ขอให้ประชาชนจงอดทนและรักษาตัวให้ดี

post

ย้อนบันทึกประวัติศาสตร์โลก 100 ปี ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

 

เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถหยุดยั้งเอาไว้ได้ มองในความเป็นจริงมนุษย์เราทุกคนคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติบนโลกใบนี้เท่านั้น ที่สำคัญโลกของเรามีอายุหลายร้อยล้านปีเกินกว่าที่คนทุกคนจะจินตนาการได้ ดังนั้นธรรมชาติจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนและเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เป็นแน่แท้ ลองมาย้อนดูบันทึกประวัติศาสตร์โลก 100 ปี เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติว่ามีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นให้คนบนโลกต้องจดจำกันบ้าง

ย้อนบันทึกประวัติศาสตร์โลก 100 ปี ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มนุษย์ต้องจดจำ

  1. ปี 1883 ภูเขาไฟกรากาตัวเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง เหตุการณ์ระเบิดในครั้งนี้สร้างความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ให้กับประเทศอินโดนีเซีย มีความเสียหายเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน 163 หมู่บ้าน ที่สำคัญมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 36,380 ราย
  2. ปี 1902 ภูเขาไฟปาเลบนเกาะมาร์ตินีเกิดการระเบิดขึ้นมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับเมืองเซนต์ปิแอร์ มีผู้เสียชีวิจากเหตุการณ์นี้กว่า 30,000 ราย มาร์ตินี่คือส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปเพราะคือ 1 ใน 27 จังหวัดของฝรั่งเศส เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ของเขตป่าร้อนชื้น ทะเลเงียบสงบ หาดทรายแสนสวยงาม มีการให้บริการพร้อมความสะดวกสบายของโรงแรมระดับ 5 ดาว เป็นมนต์เสน่ห์แห่งหมู่เกาะที่นักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในการเดินทางไปสัมผัสอย่างมาก
  3. ปี 1923 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโต ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งเขตเมืองโตเกียวและโยโกฮาม่ากว่า 100,000 ราย วัดความรุนแรงได้ถึง 9 ริกเตอร์ ความรุนแรงขนาดว่าทำให้กรุงโตเกียวเปลี่ยนเป็นเมืองแห่งซากปรักหักพังภายในพริบตา เกิดไฟไหม้ทั่วทั้งเมือง
  4. ปี 1976 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8 – 8.2 ริกเตอร์ ที่เมืองต่งซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน คร่าชีวิตผู้คนกว่า 242,769 ราย มีผู้คนบาดเจ็บอีกกว่า 164,851 ราย ความรุนแรงนี้เป็นระดับ 11 ลึกลงไปใต้ดินราว 11-16 กม. ในเมืองถังซัน สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
  5. ปี 1985 ภูเขาไฟเนลวาโดเดลรีซ เกิดการปะทุขึ้นมาเกิดเศษหินภูเขาไฟ แมกม่ากว่า 35 ล้านตัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์พุ่งออกมากว่า 7 แสนตัน ไหลความเร็วเฉลี่ย 60 กม./ชม. เข้าถล่มยังเมืองอาร์เมโร โคลอมเบีย มีผู้เสียชีวิตราว 25,000 ราย
  6. ปี 1995 เกิดแผ่นไหวแมกนิจูด 2 ใกล้เมืองโกเบ ญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 ราย พร้อมกันนี้ทรัพย์สินต่างๆ ยังเกิดความเสียหายมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  7. ปี 1999 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 2 ริกเตอร์ บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของตุรกี คร่าชีวิตผู้คนกว่า 17,000 คน บาดเจ็บอีก 44,000 ราย

นี่คือส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์โลก 100 ปี ภัยพิบัติทางธรรมชาติเท่านั้น ถือว่าเป็นเรื่องราวเกินการควบคุมของทุกคนบนโลกใบนี้จะทำได้

post

10 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่น่ากลัวแล้วไม่อยากให้เกิดขึ้นมาอีกบนโลก

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ใครก็คาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมาจนรู้จักการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ได้มีการเขียนระบุเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงเอาไว้มากมาย และนี่คือ 10 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ขึ้นชื่อว่าร้ายแรงที่สุดในประวัตศาสตร์โลก

10 ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ได้รับการยกให้ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

  1. แผ่นดินไหวเมือง Aleppo ปี 1138 – เมืองอะเลปโป ในซีเรีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือห่างจากทะเลสาบเดดซี อดีตเคยเป็นเมืองใหญ่สุดของซีเรีย แต่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 2 ครั้ง ความแรง 5 ริกเตอร์ คนเสียชีวิตกว่า 230,000 ราย
  2. แผ่นดินไหว Shannxi ปี 1556 – นับว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งของจีน เมืองฉานซี เมื่อวันที่ 23 มกราคม 1556 มีผู้บาดเจ็บกับเสียชีวิตรวมกัน 830,000 ราย ทั้งในฉานซีกับเมืองโดยรอบต่างๆ
  3. น้ำท่วมตรงแม่น้ำ Kaifeng ปี 1642 – เมืองไคเฟิง ตั้งอยู่ตรงมณฑลเหอหนาน ตอนใต้ริมฝั่งแม่น้ำเหลือง ทั้งเมืองแห่งนี้จมใต้บาดาล ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตกว่า 600,000 ราย
  4. เกิดการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ ปี 1918 – ไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ H1N1 เกิดการแพร่ระบาดทั่วโลกระหว่างปี 1918 – 1919 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกว่า 35-75 ล้านคน เทียบเป็นประชากร 3-5% ของโลกตอนนั้นเลย
  5. พายุไซโคลน Coringa อินเดีย ปี 1839 – เป็นพายุขนาดใหญ่พัดถล่มเมือง Coringa เมืองท่าขนาดเล็กใกล้แม่น้ำโกดาวารี พายุได้ถล่มเมืองจนไม่เหลือชิ้นดี มีคลื่นสูงกว่า 2 เมตร ผู้เสียชีวิกว่า 300,000 ราย
  6. พายุไซโคลน Bhola ปากีสถานตะวันออกยุคก่อนปัจจุบันคือบังคลาเทศ ปี 1970 คนเสียชีวิตกว่า 167,000 ราย ใสคืนเดียว เกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรวมแล้วเสียชีวิตกว่า 500,000 คน แค่เมือง Tazumuddin คือคนเสียชีวิตถึง 45%
  7. แผ่นดินไหวแถวคันโต ญี่ปุ่น ปี 1923 – ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงสุดของญี่ปุ่น และมีคนเสียชีวิตมากที่สุด เสียหายเป็นวงกว้างทั้งโตเกียว โยโกฮาม่า ชิบะ คานากาว่า และชิสุโอกะ รวมแล้วกว่า 142,800 ราย สูญหายอีก 40,000 ราย
  8. แผ่นดินไหวที่ Tangshan จีน ปี 1976 – เกิดบริเวณเองถังซาน มณฑลเหอเป่ย มีคนเสียชีวิตกว่า 450,000 ขนาดคนในเมืองปักกิ่งที่ห่างออกไป 150 กม. ยังสัมผัสได้
  9. แผ่นดินไหวบนเกาะสุมาตราและสึนามิ อินโดนีเซีย ปี 2004 – เหตุการณ์นี้รวมถึงประเทศไทยด้วย มีผู้เสียชีวิตรวม 280,000 คน ทั้งในอินเดียและศรีลังกาก็เช่นกัน แต่บนเกาะสุมาตรามีความรุนแรงระดับ 1 ริกเตอร์
  10. แผ่นดินไหวที่ Haiti ปี 2010 – ศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากเมืองหลวงแค่ 25 กม. มีผู้เสียชีวิตกว่า 120,000 คน นับว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 200 ปี ของประเทศ บ้านเรือนเสียหายมากมายจนนับกันไม่ไหวเลยทีเดียวสำหรับแผ่นดินไหวครั้งนี้
post

ภัยธรรมชาติน้ำท่วมของประเทศอินเดีย

หลายๆ ประเทศสามารถประสบพบเจอกับปัญหาเรื่องของภัยธรรมชาติได้ เนื่องจากภัยธรรมชาติเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่บนโลกขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ไหนจะประสบพบเจอปัญหาประเภทใด ปัญหาภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งที่คนแทบทุกพื้นที่บนโลกต้องเคยเจอเหมือนกันก็คือ น้ำท่วม ยิ่งประเทศที่ติดกับทะเลหรือประเทศที่มีแหล่งน้ำเป็นจำนวนมากยิ่งมีโอกาสเกิดภัยน้ำท่วมสูงและถ้าหากว่าในประเทศเองยังไม่มีการป้องกันที่ดีพอจะยิ่งทำให้โอกาสการเกิดภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมเป็นไปได้สูงมาก ประเทศอินเดียเองก็ถือว่าเป็นประเทศที่ติดกับทะเลและมีแหล่งน้ำภายในประเทศมากมายนั่นทำให้เรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติน้ำท่วมของประเทศอินเดียอยู่บ่อยๆ

น้ำท่วมหนักในอินเดียได้รับผลกระทบกว่า 17 ล้านคน

เมื่อช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในประเทศอินเดียอีกครั้งโดยในครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่รัฐพิหาร ว่ากันว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 17 ล้านคน ขณะที่มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 500 คนเลยทีเดียว โดยเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2560 ได้มีการรายงานเกี่ยวกับฝนฤดูมรสุมที่โหมกระหน่ำเข้าใสรัฐพิหารทางภาคตะวันออกของอินเดียอย่างหนัก จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก ประชาชนจำเป็นต้องอพยพขนของขึ้นไปอยู่ในที่สูง ขณะเดียวกันก็มีผู้ประสบภัยในครั้งนี้กว่าแสนคนต้องเข้าไปพักอาศัยในศูนย์บรรเทาทุกข์ของทางการที่มีกระจายอยู่ในหลายรัฐซึ่งอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกของอินเดีย นอกจากนี้ในรายงานดังกล่าวยังระบุว่าการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในรัฐพิหารมากกว่า 500 คน มีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 17 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนผู้ได้รับผลกระทบที่เยอะเป็นประวัติการณ์ของอินเดียเหมือนกัน บ้านเรือนประชาชนรวมไปถึงพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายอย่างหนักถือเป็นอุทกภัยฝนฤดูมรสุมที่สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากในรอบหลายปีของอินเดีย

ถือเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ในประเทศอินเดียที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมที่สร้างความสูญเสียให้กับผู้คนในประเทศจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล ทรัพย์สิน ที่ดิน บ้านเรือน ทุกๆ อย่างสามารถหายไปในพริบตาภายในเวลาไม่นาน นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ของประชาชนรัฐพิหารอย่างมากที่จำเป็นต้องอพยพหนีเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในครั้งนี้และยังไม่รู้ด้วยว่าหลังเหตุการณ์สงบจะต้องมีการช่วยเหลือจากทางภาครัฐอย่างไรบ้าง ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนหลายคนสิ้นเนื้อประดาตัวกันไปไม่น้อยและต้องเริ่มต้นกันใหม่ว่าจะเอาอย่างไรต่อไปกับเหตุการณ์นี้

post

ความรู้ช่วงฤดูกาลของประเทศอินเดียว่าเป็นยังไง

ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียที่ถือได้ว่ามีขนาดค่อนข้างใหญ่มากพอสมควร ด้วยขนาดที่ใหญ่ของประเทศทำให้ลักษณะของภูมิอากาศย่อมมีความแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว พูดง่ายๆ ก็คือแม้จะเป็นประเทศเดียวกันช่วงเวลาเดียวกันแต่ลักษณะของภูมิอากาศก็สามารถมีความแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับพื้นที่บริเวณดังกล่าวว่าจะเป็นตรงส่วนบริเวณไหนของประเทศ หลายคนเวลาต้องการจะเดินทางไปยังอินเดียด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว, แสวงบุญ, ทำงาน, ศึกษาต่อ และอื่นๆ ก็จำเป็นต้องมีการตรวจเช็คช่วงฤดูกาลของอินเดียด้วยเช่นเดียวกันว่าในแต่ละปีช่วงฤดูกาลของอินเดียนั้นเป็นอย่างไรบ้างเพื่อที่จะได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง

สภาพภูมิอากาศโดยรวมของอินเดีย

ประเทศอินเดียตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างละติจูดที่ 8 องศา 4 ลิปตา ถึง 37 องศา 6 ลิปตาเหนือ และลองติจูด 68 องศา 7 ลิปตา และ 97 องศา 25 ลิปตา ตะวันออก จากตำแหน่งของประเทศตามที่ได้กล่าวเอาไว้นี้ทำให้ประเทศอินเดียใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรผ่านเส้นรุ้งที่ 23.5 องศา หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า Tropic of Cancer ไปจนถึงเส้นเหนือสุดที่เส้นรุ้ง 37 จากพื้นที่เหล่านี้เองทำให้สภาพภูมิอากาศของประเทศอินเดียตั้งแต่ช่วงเหนือจรดช่วงใต้มีความแตกต่างกันมาก ขณะเดียวกันเรื่องของความใกล้และไกลของพื้นที่ติดทะเลทำให้มีเรื่องของลมมรสุมเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งส่งผลต่อเรื่องของสภาพภูมิอากาศของประเทศอินเดียด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อมีการแบ่งลักษณะฤดูกาลของประเทศอินเดียออกมาจะสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ฤดูกาล

ฤดูกาลของประเทศอินเดีย

  1. ฤดูร้อน – ในช่วงฤดูร้อนของอินเดียสภาพอากาศจะมีความร้อนถึงร้อนจัด ช่วงเวลาฤดูร้อนจะอยู่ที่ช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศจะอยู่ประมาณ 35 องศา แต่ในบางพื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัดอุณหภูมิสามารถขึ้นไปในระดับ 40 องศาได้เลย
  2. ฤดูฝน – ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศอินเดียจะมีฝนตกชุกมากยิ่งถ้าหากเป็นพื้นที่ติดกับทะเลนอกจากจะมีเรื่องของฝนแล้วยังมีเรื่องของลมพายุและมรสุมอีกด้วย ซึ่งช่วงฤดูฝนของประเทศอินเดียจะอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน อุณหภูมิในช่วงฤดูฝนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 28 องศา
  3. ฤดูหนาว – สำหรับช่วงฤดูหนาวของประเทศอินเดียส่วนใหญ่ลักษณะอากาศก็จะหนาวเย็นในขณะที่บางพื้นที่นั้นลักษณะอากาศหนาวจัดเลยทีเดียว โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูหนาวจะอยู่ประมาณ 10-17 องศา แต่ถ้าเป็นบางพื้นที่อาจมีอากาศลงต่ำได้ถึง -3 องศากันเลยทีเดียว โดยช่วงเวลาฤดูหนาวของประเทศอินเดียจะอยู่ช่วงเดือนตุลาคม ถึง ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาทั้งหมดจะใกล้เคียงกับประเทศไทยไม่น้อยเหมือนกัน
post

สภาพภูมิอากาศของอินเดีย ที่ต้องรู้ให้ได้

ประเทศอินเดียถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้ก็เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย อีกทั้งยังถือว่าเป็นประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายนั่นจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศของประเทศอินเดียก็มีความหลากหลายตามไปด้วยเช่นเดียวกัน จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่มีขนาดใหญ่หลายส่วนของประเทศจึงมีลักษณะภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกันแต่จริงๆ แล้วประเทศที่มีขนาดใหญ่ก็มักพบเจอกับเรื่องแบบนี้เป็นปกติอยู่แล้ว

เข้าใจในสภาพภูมิอากาของประเทศอินเดีย

ก่อนทีจะมาเรียนรู้ว่าประเทศอินเดียมีลักษณะสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างไรบ้างเราต้องมาทำความเข้าใจทำเลที่ตั้งของประเทศอินเดียก่อนเพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจถึงเหตุผลเกี่ยวกับสภาพอากาศมากขึ้น ประเทศอินเดียตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 8 องศา 4 ลิปตา ถึง 37 องศา 6 ลิปตาเหนือ และลองติจูด 68 องศา 7 ลิปตา และ 97 องศา 25 ลิปตา ตะวันออก จากตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าวทำให้ประเทศอินเดียมีความทอดตัวยาวจากเหนือจรดเหนือ จากบริเวณเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรผ่านเส้นรุ้งที่ 23.5 องศา หรือเส้นที่เรียกว่า Tropic of Cancer ไปยังเส้นเหนือสุดที่เส้นรุ้งที่ 37 นี่จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สภาพอากาศจากเหนือจรดใต้มีความแตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้เรื่องของความใกล้ไกลของทะเลกับเรื่องของลมมรสุมที่การพักผ่อนประเทศก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยที่ทำให้ประเทศอินเดียมีลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ประเทศอินเดียสามารถแบ่งสภาพภูมิอากาศหลักๆ ได้เป็น 3 ฤดูกาล

ฤดูกาลของประเทศอินเดียและช่วงเวลาต่างๆ

  1. ฤดูร้อน – สภาพอากาศจะมีความร้อนเป็นอย่างมาก โดยจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยก็จะอยู่ราว 35 องศา แต่ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศา ด้วยซ้ำ
  2. ฤดูฝน – เป็นฤดูที่จะมีฝนตกชุกเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในพื้นที่ติดทะเลนอกจากฝนแล้วก็จะมีพายุและลมมรสุมต่างๆ มากมาย โดยจะอยู่ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยก็จะอยู่ราว 28 องศา
  3. ฤดูหนาว – เป็นฤดูที่สภาพอากาศของประเทศอินเดียจะหนาวเย็นมากๆ โดยจะอยู่ระหว่างเดือนตุลาคม ถึง มีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ยก็จะอยู่ราว 10-17 องศา แต่สำหรับในบางพื้นที่ก็จะมีอุณหภูมิหนาวเย็นมากถึงขนาด -3 องศาก็มีให้เห็นกัน

นี่คือสภาพอากาศของประเทศอินเดียที่จริงๆ แล้วก็คล้ายๆ กับหลายประเทศในทวีปเอเชีย หากใครอยากลองไปสัมผัสกับประเทศนี้ก็ลองเลือกตามช่วงเวลาว่าอยากไปสัมผัสกับอากาศในลักษณะใดเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการสำหรับการเดินทาง

post

การแบ่งเขตภูมิอากาศของประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดียถือว่าเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรม ประเพณี รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย ปัจจัยหนนึ่งนอกจากเรื่องของลักษณะการใช้ชีวิตที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษที่ต้องถือว่านี่เป็นประเทศแห่งอารยธรรมต่างๆ มากมายแล้ว ลักษณะของอากาศเองก็เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าในพื้นที่ใดที่ฝนตกชุกก็จะมีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างหนึ่ง พื้นที่ใดมีอากาศร้อนก็จะใช้ชีวิตต่างกัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกอะไรได้หลายอย่างสำหรับประเทศอินเดีย

ลักษณะของการแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศอินเดีย

ต้องย้อนความกันไปก่อนว่านอกจากความใหญ่ของประเทศอินเดียที่ทำให้เกิดการแบ่งเขตภูมิอากาศที่หลากหลายแล้ว เรื่องของสภาพพื้นที่และปัจจัยโดยรอบต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการที่เป็นตัวแบ่งแยกสภาพอากาศของแต่ละบริเวณในประเทศให้ต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ก่อนอื่นต้องบอกว่าสภาพภูมิประเทศของอินเดียถือว่าเป็นภูมิประเทศที่มีความหลากหลายอย่างมาก ทั้งติดทะเล เทือกเขาสูง และทะเลทราย นั่นทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งหรือส่วนที่ติดกับทะเลก็จะถูกแบ่งให้เป็นเขตภูมิอาการที่มีลมมรสุม ส่วนในบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากทะเลออกไปก็จะมีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง หลักใหญ่ใจความในการที่จะแบ่งเขตภูมิประเทศของอินเดียได้ชัดเจนก็มีอยู่ด้วยกัน 2 สิ่งคือ เทือกเขาหิมาลัย กับ ทะเลทรายธาร์ จากสิ่งสองสิ่งที่อยู่ในประเทศทำให้อินเดียมีทั้งฤดูร้อนที่มีความอบอุ่นมากรวมไปถึงฤดูหนาวที่มีความเป็นมรสุมอยู่สูงไม่เบา เทือกเขาหิมาลัยจัดว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากเกี่ยวกับการป้องกันลมที่พัดลงลาดเขา ทำให้บริเวณดังกล่าวที่อยู่ใกล้เคียงก็จะมีความอบอุ่นมากกว่าในส่วนอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งก็จะเป็นบริเวณทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตามเจ้าเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้ก็ทำให้บางส่วนของประเทศอินเดียสามารถดูหิมะได้ด้วยเช่นเดียวกัน อีกสิ่งที่เป็นตัวแบ่งเขตภูมิอากาศก็คือ ทะเลทรายธาร์ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนความชื้นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจ้าลมมรสุมที่ว่านี้จะทำให้ทุกปีของประเทศในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม มีฝนกรดตกในพื้นที่จำนวนมากของประเทศโดยเฉพาะในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้

การแบ่งเขตภูมิอากาศของอินเดีย

จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวออกมาทำให้สรุปได้ว่าประเทศอินเดียสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกได้เป็น 4 เขต ประกอบไปด้วย แบบเขตร้อนชื้น (Tropical wet), แบบเขตร้อนแห้งแล้ง (Tropical dry), แบบเทือกเขาสูง (Montane) และแบบอบอุ่นชื้น (Subtropical humid) ถือว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเขตภูมิอากาศอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว