post

สภาพอากาศแต่ละฤดูกาลของ ประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ มีจำนวนประชากรเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีประชากรมากสุดในโลก อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับประเทศจีน, เนปาล และภูฏาน ด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ทำให้กลายเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคต่างๆ ในอินเดียจึงมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ดังนี้

  • ฤดูหนาว (ตุลาคม – มีนาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย15 องศา แต่บริเวณใกล้ชิดเขาหิมาลัยและเชิงเขาทางเหนือ อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาบางครั้งอาจถึงขั้นติดลบ บริเวณเขตที่ราบอากาศเย็นสบาย ประมาณ15-20 องศา ทางภาคใต้อากาศอบอุ่น ยกเว้นบริเวณเทือกเขาสูงก็จะมีอากาศหนาวเย็น
  • ฤดูร้อน (เมษายน – มิถุนายน) อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เต็มไปด้วยความร้อนระอุ มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศา ที่ราบทางตอนเหนือ เต็มไปด้วยฝุ่นดินทรายฟุ้งกระจาย อันตรายต่อทางเดินหายใจ อุณหภูมิในตอนกลางวันอาจสูงกว่า 40 องศา ส่วนทางภาคใต้อากาศร้อนอบอ้าว
  • ฤดูฝน (กรกฎาคม – กันยายน) มีอุณหภูมิประมาณ 28 องศา บางครั้งอาจต่ำกว่านี้

การแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศอินเดีย

อย่างที่กล่าวในตอนต้นว่าเพราะความใหญ่โตของประเทศอินเดีย จึงทำให้เกิดการแบ่งเขตภูมิอากาศอันหลากหลาย นอกจากนี้เรื่องของสภาพพื้นที่รวมทั้งปัจจัยยิบย่อยต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญในการแบ่งแยกสภาพอากาศให้แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง โดยสภาพภูมิประเทศของอินเดียมีความหลากหลายสูง ไม่ว่าจะทั้ง ติดทะเล, ภูเขาสูง หรือทะเลทราย จึงทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งกลายเป็นเขตภูมิอากาศอันเต็มไปด้วยลมมรสุม ส่วนบริเวณไหนอยู่ห่างจากทะเลก็จะมีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง ขาดน้ำจนดินแตกระแหง

ปัจจัยในการแบ่งเขตภูมิประเทศของอินเดียแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ ภูเขาหิมาลัย และ ทะเลทรายธาร์ จากทั้งสองสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้อินเดียมีฤดูร้อนอันมีความร้อนระอุมากบางครั้งถึง 40 องศา ส่วนฤดูหนาวก็มีมรสุมสูง นอกจากนี้เทือกเขาหิมาลัยก็ยังทำให้บางส่วนของประเทศมีหิมะได้ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สิ่งที่เป็นตัวแบ่งเขตภูมิอากาศก็คือ ทะเลทรายธาร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญ ในการนำพาความชื้นจากตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านไปยังพื้นที่ส่วนมาก โดยมรสุมตัวนี้ส่งผลให้เดือนมิถุนายน – ตุลาคม มีฝนตกหนักอย่างบ้าคลั่ง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้

การแบ่งเขตภูมิอากาศของอินเดีย

จากการรวมปัจจัยทั้งน้อยใหญ่ทั้งหมด จึงสรุปได้ว่าประเทศอินเดียแบ่งสภาพภูมิอากาศได้เป็น 4 เขต ได้แก่

  • เขตร้อนชื้น (Tropical wet)
  • เขตร้อนแห้งแล้ง (Tropical dry)
  • เทือกเขาสูง (Montane)
  • อบอุ่นชื้น (Subtropical humid)

นอกจากวัฒนธรรมอันหลากหลายแล้ว อินเดียก็ถือว่าเป็นประเทศมีความหลากหลายทางด้านเขตภูมิอากาศอยู่มากเลยทีเดียว สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางไปเยือน ก็ควรตรวจสอบสภาพอากาศให้ดีเสียก่อน

พายุฝุ่นอันตราย ประเทศอินเดีย เพราะเหตุใดทำให้ตาย

ฤดูมรสุมของอินเดียปี 2018 บุกถล่มเข้าสู่ภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศ โดยในปีนี้มรสุมไม่ได้มาแบบเบาๆ เหมือนทุกปี หากแต่พรากชีวิตของประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 100 คน จากพายุฝุ่นขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในคืนวันพุธเพียงคืนเดียว ของวันที่ 2 พฤษภาคม 2018

สำนักข่าวท้องถิ่นของอินเดียรายงานว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสลมขนาดรุนแรง ซึ่งพัดพาเอาสิ่งของรวมทั้งโครงสร้างสาธารณะหล่นทับร่างกาย อีกทั้งยังมีประชาชนอีกจำนวนมากได้รับบาดเจ็บจากภัยธรรมชาติครั้งนี้

ตามปกติแล้วพายุฝุ่นเป็นภัยพิบัติซึ่งพบมากในประเทศอินเดีย ซึ่งในปีก่อนๆ หน้านี้ พบจำนวนผู้เสียชีวิตจากพายุฝุ่นรวมแล้วเพียงไม่กี่สิบรายเท่านั้น แต่สำหรับปี 2018 ระดับความรุนแรงของพายุสร้างความตกตะลึงให้แก่เจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยาเป็นอย่างมาก โดยมันเดินทางจากรัฐราชสถาน ไปยังรัฐอุตตรประเทศพร้อมพัดถล่มกรุงนิวเดลีอย่างไม่ปราณีในระยะเวลาอันสั้น

นาย Hemant Gera เลขานุการแห่งหน่วยงานจัดการภัยพิบัติออกมา ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า “ผมทำงานนี้มา เป็นเวลาถึง 20 ปี แต่ไม่เคยพบเจออะไรรุนแรงเท่านี้มาก่อน”

“โดยคนร้ายที่พรากชีวิตของผู้คนไปจำนวนมาก ก็คือพายุฟ้าผ่าซึ่งถล่มอย่างหนักตลอดทั้งคืน ” Bob Henson นักอุตุนิยมวิทยามือฉมังกล่าว “ซึ่งลมที่เกิดขึ้นมันแรงถึงขนาดเรียกได้ว่าเป็น downburst ความรุนแรงของมันสูสีกับพายุ ที่ถล่มอเมริกาเลยทีเดียว”

สำหรับคำว่า downburst คือ ช่วงเวลาอันร้ายแรง กระแสลมพัดลงในแนวดิ่ง โดยเริ่มจากกลุ่มเมฆลงสู่เบื้องล่าง ด้วยความเร็วอันรุนแรง ก่อนที่จะแตกกระจายตัวออกไป อีกชื่อหนึ่งของมันคือ Microburst โดยในช่วง downburst นั้นมันรุนแรงจนกระทั่งทำให้เครื่องบินตกได้เลยทีเดียว มันมีความเร็วลมมากกว่า 320 กิโลเมตรเสียอีก

รายงานจาก Bob Henson พบว่าฝุ่นละอองที่ปะปนมานั้น ไม่ได้ทำให้พายุรุนแรงขึ้น หากแต่เป็นลมต่างหากที่เป็นตัวการสำคัญ นอกจากนี้สำนักข่าว Hindustan กล่าวว่าสภาพอากาศอันอบอุ่นผิดปกติ เป็นตัวการสำคัญซึ่งทวีความรุนแรงของพายุขึ้น โดยเมื่อต้นสัปดาห์ก่อนพายุบุก พบรายงานว่าอุณหภูมิสูงถึง 45 องศา

นาย Ken Waters ผู้เชี่ยวชาญด้านพายุฝุ่น แสดงภาพให้เห็นว่า แท้จริงแล้วพายุฝุ่นนั้นมีอันตรายมากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิด “ส่วนใหญ่แล้วพายุฝุ่นส่งผลกระทบต่อสภาพการเดินทางบนท้องถนนเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อลมแรงพัดพาฝุ่นละอองมาทัศน์วิสัยก็จะเป็นศูนย์ ในสถานการณ์จริง คุณจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าลงไปอยู่บนถนนแล้ว” อีกทั้งมันก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน

post

ให้ตายเหอะ อินเดียร้อนแบบรุนแรงพุ่งทะยานไปที่ 51 องศาฯ

ประชาชนในอินเดีย ณ เมืองพาโลดี ประสบกับสภาพอากาศร้อนถึงขีดสุด เท่าที่เคยมีการบันทึกข้อมูลมาในประเทศ โดยมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึงขีดสุด 51 องศา อันเป็นผลมาจากอิทธิพลคลื่นความร้อนซึ่งแผ่ตัวปกคลุมไปทั่วประเทศ วันที่ 20 พฤษภาคม 2016 เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย ออกมาเปิดเผยข้อมูลอันน่าตกใจว่า ณ เมืองพาโลดี รัฐราชสถาน ประชาชนรวมทั้งสัตว์น้อยใหญ่ กำลังเผชิญสภาพอากาศร้อนจัดเดือดสุด เท่าที่เคยมีมาอุณหภูมิทะลุเกิน 51 องศาเซลเซียส ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2016 ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา โดยเมื่อปี ค.ศ. 1956 อินเดียเคยมีสถิติอุณหภูมิสูงสุด 50.6 องศาเซลเซียสมาแล้ว

วันที่ 19 พฤษภาคม 2016 เป็นวันที่อุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา คือ 51 องศาเซลเซียส อันเป็นตัวเลขน่าตกใจสำหรับเมืองมนุษย์ ณ เมืองพาโลดี กรมอุตุฯของประเทศอินเดียกล่าว

และในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย ก็ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า จากความรุนแรงของคลื่นความร้อนซึ่งแผ่ปกคลุมไปทั่วอินเดีย โดยเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคตะวันตก ก่อให้เกิดสภาพอากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันยาวนานมาหลายสัปดาห์ ในขณะที่สภาพอากาศร้อนจัดในครั้งนี้ ส่งผลให้มีประชาชนชาวอินเดีย ในรัฐเตลังคานา และอานธรประเทศ เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าสลดแล้วหลายสิบคน นอกจากนี้พื้นดินก็แตกระแหงราวกับไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่แม้แต่หยดเดียว

ทั้งนี้อินเดีย เป็นประเทศขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก อีกทั้งยังเป็นประเทศมีความเป็นมาอันยาวนาน อินเดียเป็นประเทศแม่ซึ่งให้กำเนิดหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งวัฒนธรรม, ศาสนา หรือแม้กระทั่งอาหารการกิน นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นประเทศอันมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย จากปัจจัยนี่เองจึงเป็นส่วนสำคัญอันทำให้สภาพภูมิอากาศของประเทศอินเดีย มีความหลากหลายเฉกเช่นภูมิประเทศนั่นเอง ด้วยตำแหน่งของประเทศซึ่งมีขนาดใหญ่โต จึงทำให้หลายส่วนของประเทศมีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งตามธรรมชาติประเทศขนาดใหญ่ก็มักพบเจอกับเรื่องภูมิอากาศอันแปรปรวนและรุนแรงเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องน่ากลัวอันดับต้นๆ

ฤดูกาลของอินเดีย ในช่วงฤดูร้อนตามปกติของทุกๆ ปี ก็มีสภาพอากาศร้อนระอุเป็นอย่างมากอยู่แล้ว โดยฤดูร้อนของอินเดีย อยู่ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย คือ 35 องศา แต่สำหรับในบางเมืองหรือบางจุดของประเทศมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาซึ่งตัวเลขเท่านี้ก็ถือว่าร้อนมากอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นฤดูซึ่งไม่ค่อยมีผู้นิยมไปเยือนอีกด้วย

post

พายุ Tornado อันสุดรุนแรงเกิดจากอะไร

Tornado หรือบางครั้งในบ้านเราเรียกว่า พายุงวงช้าง มันเป็นพายุอันสุดแสนน่ากลัว เต็มไปด้วยจุดหมายแห่งการทำลายล้าง อันเกิดจากอากาศหมุนวน พายุ Tornado เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือมีรูปร่างเป็นทรงกรวย บริเวณปลายกรวยจิ้มลงพื้นดิน ซึ่งมันมาพร้อมกับพลังงานสูง ความเร็วลมพุ่งทะยานถึง 500 กม/ชม ซึ่งความเร็วขนาดนี้สามารถก่อให้เกิดการถล่มของสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ได้ ถ้าคุณเป็นคนที่ติดตามข่าวอยู่เสมอคุณจะพบข่าวพายุ Tornado ถล่มสหรัฐอเมริกาอยู่บ่อยครั้ง แต่ความจริงแล้วมันเกิดขึ้นได้ในหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบเจอพายุชนิดนี้ประมาณปีละ 20 ครั้ง

Tornado ถือกำเนิดขึ้นจากการที่ลมร้อนและลมเย็นมาเจอกัน จนกระทั่งมันก่อร่างสร้างตัวให้เกิดลมหมุน เมื่อลมหมุนในระดับไม่แน่นอน ก็ส่งผลให้ปลายข้างหนึ่งลงมาจิ้มที่พื้นดินก่อให้เกิดพายุ โดยจากตามที่ข่าวออก Tornado ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เพราะสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวย

กลุ่มอากาศอุ่นได้ลอยเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศเย็นจึงทำให้เกิด การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนในพื้นที่จำกัด นอกจากนี้บริเวณจุดศูนย์กลางก็จะเต็มไปด้วยลมซึ่งหมุนเร็วมาก ส่งผลให้เกิดอากาศรูปร่างเกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ส่วนขอบนอกความเร็วของการหมุนก็จะค่อยๆ ลดลง แต่ถึงอย่างนั้นรอบนอกก็ยังมีความรุนแรงพอ ที่จะสามารถหอบเอาบ้านทั้งทลายลงได้อย่างหมูๆ

ระดับของ Tornado

Tornado มีความรุนแรงหลายระดับ วัดจากพลังของมันบวกกับความเร็ว ซึ่งแบ่งเป็น F0 – F5 , F0 ระดับตั้งต้น มีกำลังเบาสุด ส่วน F5 มีกำลังแข็งแกร่งสุด การแบ่งแยกระดับในปัจจุบันนี้ถือเอาตาม Fujita scale ได้แก่…

  • F0 ความเร็ว 64-116 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • F1 ความเร็ว 117-180 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • F2 ความเร็ว 181-253 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • F3 ความเร็ว 254-332 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • F4 ความเร็ว 333-418 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • F5 ความเร็ว 419-512 กิโลเมตร/ชั่วโมง

จากข้อมูลทางสถิติ ผลปรากฏว่า การเกิด Tornado 1,000 ครั้ง จะพบกับ…

  • F0 389 ครั้ง
  • F1 356 ครั้ง
  • F2 194 ครั้ง
  • F3 49 ครั้ง
  • F4 11 ครั้ง
  • F5 1 ครั้ง

ทั้งนี้ความรุนแรงของ Tornado มีผลต่อความใหญ่และระยะเวลาสลายตัว สำหรับระดับ F0-F1 พบเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 100 เมตร แค่เดินทางไม่กี่กิโลเมตรมันก็จะสลายตัวไป ไม่ส่งผลอันตรายเท่าไหร่ แต่พายุ F5 ที่มีความรุนแรงมากที่สุด อาจพบเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 1,600 เมตร สามารถเดินทางไกลได้มากกว่า 100 กิโลเมตร สร้างความเสียหายอย่างร้ายกาจเป็นวงกว้าง ก่อนจะค่อยๆสลายตัว ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้มันเกิดแน่นอน ดังนั้นแล้วคุณจะเห็นว่า พายุระดับสูงกว่าก็จะทำให้มันมีขนาดใหญ่รวมทั้งสลายตัวช้าด้วย